เมนู

โพธิยา พุทโธติกถา


[937] ส. สกวาที ชื่อว่า พุทธะ เพราะปัญญาเป็นเครื่อง
ตรัสรู้ หรือ ?
ปรวาที ถูกแล้ว.
ส. เมื่อปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ดับไปแล้ว ปราศจาก
ไปแล้วระงับไปแล้ว ก็กลับเป็นผู้มิใช่พุทธะ
หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[938] ส. ชื่อว่า พุทธะ เพราะปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ชื่อว่า พุทธะ เพราะปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่
เป็นอดีต หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ
[939] ส. ชื่อว่า พุทธะ เพราะปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่
เป็นอดีต หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ยังกระทำกิจที่พึงทำด้วยปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้
ได้ด้วยปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้นั้น หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[940] ส. ยังกระทำกิจที่พึงทำด้วยปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้
ได้ด้วยปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้นั้น หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ยังกำหนดรู้ทุกข์ ละสมุทัย ทำให้แจ้งซึ่งนิโรธ
ยังมรรคให้เกิดได้ ด้วยปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[941] ส. ชื่อว่า พุทธะ เพราะปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ชื่อว่า พุทธะ เพราะปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่
เป็นอนาคต หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ
[942] ส. ชื่อว่า พุทธะ เพราะปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่
เป็นอนาคต หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. กระทำกิจที่พึงทำด้วยปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ได้
ด้วยปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้นั้น หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ
[943] ส. กระทำกิจที่พึงทำด้วยปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ได้
ด้วยปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้นั้น หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.

ส. กำหนดรู้ทุกข์ ฯลฯ ยังมรรคให้เกิดได้ด้วย
ปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้นั้น หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[944] ส. ชื่อว่า พุทธะ เพราะปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่
เป็นปัจจุบัน กระทำกิจที่พึงทำด้วยปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ได้ด้วยปัญญา
เป็นเครื่องตรัสรู้นั้น หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ชื่อว่า พุทธะ เพราะปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่
เป็นอดีต กระทำกิจที่พึงทำด้วยปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ได้ด้วยปัญญา
เป็นเครื่องตรัสรู้นั้น หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ
[945] ส. ชื่อว่า พุทธะ เพราะปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่
เป็นปัจจุบัน กำหนดรู้ทุกข์ ละสมุทัย ทำให้แจ้ง นิโรธ ยังมรรคให้
เกิดได้ด้วยปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้นั้น หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ชื่อว่า พุทธะ เพราะปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่
เป็นอดีต กำหนดรู้ทุกข์ ฯ ล ฯ ยังมรรคให้เกิดได้ด้วยปัญญาเป็นเครื่อง
ตรัสรู้นั้น หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[946] ส. ชื่อว่า พุทธะ เพราะปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่
เป็นปัจจุบัน กระทำกิจที่พึงทำด้วยปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ได้ด้วยปัญญา

เป็นเครื่องตรัสรู้นั้น หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ชื่อว่า พุทธะ เพราะปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่
เป็นอนาคต กระทำกิจที่พึงกระทำด้วยปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ได้ด้วย
ปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้นั้น หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[947] ส. ชื่อว่า พุทธะ เพราะปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่
เป็นปัจจุบัน กำหนดรู้ทุกข์ ฯ ล ฯ ยังมรรคให้เกิดได้ด้วยปัญญาเป็น
เครื่องตรัสรู้นั้น หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ชื่อว่า พุทธะ เพราะปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่
เป็นอนาคต กำหนดรู้ทุกข์ ฯ ล ฯ ยังมรรคให้เกิดได้ด้วยปัญญาเป็น
เครื่องตรัสรู้นั้น หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ
[948] ส. ชื่อว่า พุทธะ เพราะปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่
เป็นอดีต แต่กระทำกิจที่พึงทำ ด้วยปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ไม่ได้ด้วย
ปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้นั้น หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ชื่อว่า พุทธะ เพราะปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่
เป็นปัจจุบัน แต่กระทำกิจที่พึงทำด้วยปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ไม่ได้ด้วย
ปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้นั้น หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ
[949] ส. ชื่อว่า พุทธะ เพราะปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่
เป็นอดีต แต่กำหนดรู้ทุกข์ ฯ ล ฯ ยังมรรคให้เกิดไม่ได้ด้วยปัญญาเป็น
เครื่องตรัสรู้นั้น หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ชื่อว่า พุทธะ เพราะปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่
เป็นปัจจุบัน แต่กำหนดรู้ทุกข์ ฯ ล ฯ ยังมรรคให้เกิดไม่ได้ด้วยปัญญา
เป็นเครื่องตรัสรู้ หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ
[950] ส. ชื่อว่า พุทธะ เพราะปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่
เป็นอนาคต แต่กระทำกิจที่พึงทำด้วยปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ไม่ได้ด้วย
ปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้นั้น หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ชื่อว่า พุทธะ เพราะปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่
เป็นปัจจุบัน แต่กระทำกิจที่พึงกระทำด้วยปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ไม่ได้
ด้วยปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้นั้น หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ
[951] ส. ชื่อว่า พุทธะ เพราะปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่
เป็นอนาคต แต่กำหนดรู้ทุกข์ ฯลฯ ยังมรรคให้เกิดไม่ได้ด้วยปัญญาเป็น
เครื่องตรัสรู้นั้น หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.

ส. ชื่อว่า พุทธะ เพราะปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่
เป็นปัจจุบัน แต่กำหนดรู้ทุกข์ ฯ ล ฯ ยังมรรคให้เกิดไม่ได้ด้วยปัญญา
เป็นเครื่องตรัสรู้นั้น หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[952] ส. ชื่อว่า พุทธะ เพราะปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่
เป็นอดีต ชื่อว่า พุทธะ เพราะปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่เป็นอนาคต
ชื่อว่า พุทธะ เพราะปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่เป็นปัจจุบัน หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ชื่อว่า พุทธะ เพราะปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ 3
หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ
[953] ส. ชื่อว่า พุทธะ เพราะปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ 3
หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ประกอบ ตั้งมั่น ด้วยปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ทั้ง
3 ปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ทั้ง 3 ปรากฏเนือง ๆ สม่ำเสมอ ไม่ระคน
กัน หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ
[954] ป. ไม่พึงกล่าวว่า ชื่อว่า พุทธะ เพราะปัญญาเป็น
เครื่องตรัสรู้ หรือ ?
ส. ถูกแล้ว.

ป. ชื่อว่า พุทธะ เพราะการได้ปัญญาเป็นเครื่อง
ตรัสรู้ มิใช่หรือ ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. หากว่า ชื่อว่า พุทธะ เพราะการได้ปัญญาเป็น
เครื่องตรัสรู้ ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า ชื่อว่า พุทธะ เพราะ
ปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้.
[955] ส. ชื่อว่า พุทธะ เพราะการได้ปัญญาเป็นเครื่อง
ตรัสรู้ เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า พุทธะ เพราะปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ชื่อว่า โพธิ คือปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ ก็เพราะ
การได้ปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ
โพธิยา พุทโธติกถา จบ

อรรถโพธิยา พุทโธติกถา


ว่าด้วยคำว่า ชื่อว่าพุทธะเพราะโพธิ1


บัดนี้ ชื่อว่า เรื่องชื่อว่าพุทธะเพราะโพธิ คือปัญญาเป็นเครื่อง
ตรัสรู้. ในเรื่องนั้น คำว่า " โพธิ " เป็นชื่อของมัคคญาณ 4 บ้าง
เป็นชื่อของสัพพัญญุตญาณบ้าง. เพราะฉะนั้น ชนเหล่าใดมีความเห็น
ดุจลัทธิของนิกายอุตตราปถกะทั้งหลาย นั่นแหละในขณะนี้ว่า ชื่อว่า
เป็นพระพุทธเจ้าเพราะโพธิ เหมือนคำว่า ชื่อว่าคนขาวเพราะผิวขาว
ชื่อว่าคนดำเพราะผิวดำ ฉะนั้น ดังนี้ คำถามก็ดี คำซักถามก็ดีของ
สกวาทีหมายชนเหล่านั้น คำตอบรับรองก็ดี. คำปฏิเสธก็ดี เป็นของ
ปรวาที. ในปัญหาว่า เพราะปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่เป็นอดีต เป็น
ต้น ปรวาทีตอบปฏิเสธเพราะขณะนั้นไม่มี. ถูกถามครั้งที่ 2 ท่านตอบ
รับรองหมายเอาการได้โดยเฉพาะ. ถูกถามด้วยด้วยสามารถแห่งกิจอีก
1. คำว่า โพธิ แปลว่าปัญญาเครื่องตรัสรู้ ในที่นี้ ท่านหมายเอามัคคญาณบ้าง
สัพพัญญุตญาณบ้าง ท่านผู้รู้ได้กล่าวคำว่า " โพธิ " ไว้ 5 นัย คือ.- 1. ต้น
โพธิที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ อุทาหรณ์ว่า โพธิรุกฺขมูเล ปฐมาภิสมฺพุทฺโธ. แปลว่า
เป็นพระอภิสัมพุทธะครั้งแรกที่ควงไม้โพธิ์ 2. มัคคจิต อุทาหรณ์ว่า โพธิ
วุจฺจติ จตูสุ มคฺเคสุ ญาณํ. แปลว่า ญาณในมรรค 4 พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสเรียกว่า โพธิ 3. สัพพัญญุตญาณ อุทาหรณ์ว่า ปปฺโปตี โพธิ วรภูริ
เมธโส. แปลว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบรรลุโพธิ คือสัพพัญญุตญาณ
ด้วยภูมิปัญญาอันยอดเยี่ยม 4. พระนิพพานอุทาหรณ์ว่า ปตฺวาน โพธิ อมตํ
อสงฺขตํ. แปลว่า ทรงบรรลุแล้วซึ่งโพธิ คือพระนิพพาน อันเป็นอมตะอัน
ปัจจัยอะไร ๆ ปรุงแต่งไม่ได้แล้ว 5. เป็นชื่อเฉพาะ อุทาหรณ์ว่า โพธิ
ภนฺเต ราชกุมาโร. แปลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ราชกุมาร ชื่อว่า โพธิ.